ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

10 วิธีดูแลตัวเองเพื่อ ป้องกันสมองขาดเลือด ที่ได้ผลจริง

ป้องกัน Stroke

สมองขาดเลือด (Stroke) เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก หากเข้าใจและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง โอกาสป้องกันภาวะนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของ Stroke คือระดับ Homocysteine ในร่างกายที่สูงเกินไป ซึ่งสามารถควบคุมได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้ Methyl Folate อย่างเหมาะสม บทความนี้จะแนะนำวิธีป้องกันสมองขาดเลือดที่มีประสิทธิภาพ พร้อมเคล็ดลับในการลดระดับ Homocysteine ที่คุณสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน


Homocysteine เกี่ยวข้องกับ Stroke อย่างไร?

โฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) เป็นกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นในกระบวนการเมแทบอลิซึมของเมไทโอนีน (Methionine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นจากอาหาร ระดับโฮโมซีสเตอีนที่สูงเกินไป หรือที่เรียกว่า Hyperhomocysteinemia มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke) โดย Homocysteine มีความสัมพันธ์กับ Stroke ดังต่ออไปนี้ 

  1. กลไกทางพยาธิสรีรวิทยา ระดับโฮโมซีสเตอีนที่สูงสามารถทำลายเยื่อบุหลอดเลือด (Endothelium) ก่อให้เกิดภาวะออกซิเดชันเกิน (Oxidative Stress) และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด (Thrombosis) ผ่านการกระตุ้นการเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Platelet Aggregation) กระบวนการเหล่านี้นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) และเพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  2. หลักฐานทางระบาดวิทยา งานวิจัยและการวิเคราะห์ Meta-analysis แสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดมีระดับโฮโมซีสเตอีนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ตัวอย่างเช่น การศึกษาระบบในวงกว้างพบว่าระดับโฮโมซีสเตอีนที่เพียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (8-10 ไมโครโมล/ลิตร) สามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ [1]
  3. ข้อมูลกรณีศึกษาและกลุ่มประชากร การศึกษาขนาดใหญ่ เช่น การวิเคราะห์ Meta-analysis ที่มีเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมองกว่า 16,000 กรณี พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างโฮโมซีสเตอีนที่สูงกับความรุนแรงและผลลัพธ์ของโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเสริมกรดโฟลิก (Folate) และวิตามินบี 12 ในการลดระดับโฮโมซีสเตอีนเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง [2]

10 วิธีดูแลตัวเองเพื่อ ป้องกันสมองขาดเลือด ที่ได้ผลจริง


  1. การเฝ้าระวังและจัดการโรคหลอดเลือดสมองระยะเริ่มต้น

เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น ชาครึ่งซีกหรือพูดไม่ชัด ควรเข้ารับการรักษาทันที การใช้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy) เช่น Alteplase IV tPA หรือการรักษาแบบสมัยใหม่อย่าง Mechanical Thrombectomy ภายใน 3-4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสียหายของสมองในระยะยาว​ [3]


  1. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ 

การจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสมองขาดเลือด เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นเวลานานสามารถเพิ่มความดันโลหิตและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ การลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเลือดในสมองและลดโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่เป็นสาเหตุของสมองขาดเลือด นอกจากนี้การลดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงช่วยป้องกันสมองขาดเลือด แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและระบบหลอดเลือดโดยรวม ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่น ๆ อีกด้วย [4]


  1. เลิกสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมองได้ การเลิกบุหรี่ไม่เพียงลดความเสี่ยงของโรคสมองขาดเลือด แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพทั่วไปอีกด้วย หากคุณไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วยตัวเองได้ ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนเลิกบุหรี่ หรือเลือกใช้วิธีบำบัดต่าง ๆ เช่น การใช้หมากฝรั่งนิโคติน เป็นต้น


  1. ควบคุมความดันโลหิต 

ความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือด หากไม่ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ อาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน ดังนั้นควรหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำและปรึกษาแพทย์หากมีปัญหา ดังนั้นลดการบริโภคเกลือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียม


  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 

การออกกำลังกายไม่เพียงช่วยลดความดันโลหิต แต่ยังช่วยปรับระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานดีขึ้น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือวิ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของหัวใจและสมอง ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เลือกกิจกรรมที่คุณชอบและทำได้อย่างต่อเนื่อง และฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือโยคะเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของร่างกาย


  1. ปรับอาหารการกิน 

การเลือกอาหารที่มีประโยชน์มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดสมองขาดเลือด ควรเน้นการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผักผลไม้ ธัญพืช และไขมันไม่อิ่มตัว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เลือกทานปลาและอาหารทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และลดการบริโภคอาหารทอดและอาหารที่มีน้ำตาลสูง


  1. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานทำให้หลอดเลือดอักเสบและเปราะบาง การรักษาด้วยการใช้ยา เช่น อินซูลิน หรือ Metformin ควบคู่กับการปรับอาหารสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้อย่างมีนัยสำคัญตามงานวิจัย [5]


  1. ควบคุมน้ำหนัก 

การมีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือด เพราะน้ำหนักเกินจะเพิ่มความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณควรคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อดูว่าน้ำหนักของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ รวมถึงลดปริมาณการบริโภคแคลอรีที่เกินความจำเป็น และหมั่นออกกำลังกายและเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์


  1. จัดการความเครียด

การจัดการความเครียดเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันสมองขาดเลือด เพราะความเครียดเรื้อรังสามารถเพิ่มความดันโลหิตและกระตุ้นให้เกิดปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อระบบหลอดเลือดในสมอง การหาวิธีลดความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้


  1. ตรวจสุขภาพประจำปี 

การตรวจสุขภาพเป็นประจำช่วยให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคสมองขาดเลือดได้เร็วขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือด หรือเบาหวาน การตรวจพบและรักษาแต่เนิ่น ๆ ช่วยป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้ดี ควรตรวจความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือดเป็นประจำ และรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติ


แนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

จากงานวิจัยพบว่า L-methylfolate (รูปแบบที่ออกฤทธิ์ของโฟเลต) และ Methylcobalamin รูปแบบที่ออกฤทธิ์ของวิตามิน B12 มีบทบาทสำคัญในการลดระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย L-methylfolate ช่วยกระตุ้นกระบวนการ methylation ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้เปลี่ยนโฮโมซิสเตอีนให้กลายเป็นเมไธโอนีน (Methionine) ซึ่งเป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยไตเสื่อม ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน MTHFR (C677T) หรือผู้ที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนกรดโฟลิก (Folic Acid) ไปเป็นรูปแบบที่ร่างกายใช้งานได้ การใช้ L-methylfolate แทนกรดโฟลิก และ methylcobalamin แทนไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า เนื่องจากสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ทันทีในร่างกาย

นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ให้เห็นการใช้ L-methylfolate และ methylcobalamin สามารถลดระดับโฮโมซิสเตอีนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้สูงถึง 80% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กรดโฟลิกและไซยาโนโคบาลามินแบบเดิม รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงในกลุ่มผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมหรือปัญหาการเผาผลาญกรดโฟลิกได้อีกด้วย [6]


อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ L-methylfolate และ methylcobalamin จะให้ประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมในการใช้วิตามินเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการเลือกรูปแบบวิตามินที่เหมาะสม เช่น L-methylfolate และ methylcobalamin เพราะไม่เพียงช่วยลดระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือด แต่ยังเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย